top of page
services

บริการรับตรวจตัวอย่างอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม
ทางห้องปฏิบัติการ

จุลินทรีย์ดัชนีชี้วัดคุณภาพอาหาร

วิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและน้ำ

Deli Store

ตรวจวิเคราะห์หาความไวของเชื้อแบคทีเรียในอาหารต่อยาปฏิชีวนะ

เพาะแยกเชื้อพร้อมหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ

antimicrobial-disc-storage.jpg

ตรวจสารเคมีเจือปนในอาหาร

วิเคราะห์สารเคมีเจือปนในอาหารด้วยชุดทดสอบ

bratwurst-2209052_1920.jpg

ตรวจเอกลักษณ์เนื้อสัตว์

ตรวจการปลอมปนเนื้อสุกร

pack-1549268_1920.jpg

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม

วิเคราะห์คุณภาพและปริมาณแบคทีเรียปนเปื้อนในอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม

agar-60571_1920.jpg

ตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียในอาหารด้วยเครื่อง Vitek2

เพาะแยกเชื้อแบคทีเรียชนิดใช้ออกซิเจนทั่วไป เพาะแยกเชื้อพร้อมหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ 

biomerieux-vitek-bg.jpg

ตรวจยาปฏิชีวนะตกค้าง

วิเคราะห์ยาปฏิชีวนะตกค้างในตัวอย่างอาหาร หาความไวต่อยาปฏิชีวนะ

milk-cans-1659157_1920.jpg

ตรวจคุณภาพน้ำผึ้ง

วิเคราะห์นำตาล ความชื้น ความหวาน (Brix) ส่วนประกอบอื่น ๆ และเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำผึ้ง

honey-823614_1920.jpg

ตรวจวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดคุณภาพอาหาร (Hygienic indicator test)

องค์ประกอบของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ ชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ที่มีอยู่มีอิทธิพลต่อคุณสมบัติทางประสาทสัมผัส (รส กลิ่น เนื้อสัมผัส สี) และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ในบรรดาจุลินทรีย์เหล่านี้ จุลินทรีย์บางชนิดอาจมีประโยชน์ในฐานะเป็นตัวบ่งชี้เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในผลิตภัณฑ์ ตัวบ่งชี้คุณภาพดังกล่าวมักใช้เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีความเสถียรทางจุลชีววิทยาและมีปริมาณอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คุณลักษณะหลักของตัวบ่งชี้คุณภาพคือการเติบโตและจำนวนควรสัมพันธ์ผกผันกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับได้ ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่ใช้ในการบ่งชี้คุณภาพผลิตภัณฑ์ในอาหาร ได้แก่ ยีสต์และเชื้อรา รวมทั้งเชื้อแบคทีเรีย เช่น E. coli และ Coliform การปนเปื้อนของเชื้อเหล่านี้บ่งบอกถึงสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่ได้มาตรฐานในกระบวนการผลิต แปรรูป เตรียม และปรุงอาหาร

ตรวจคุณภาพอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม (Quality test)

ตรวจวิเคราะห์ทางแบคทีเรียวิทยา ตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อแบคทีเรียบางชนิดมีความจำเพาะในการเจริญเติบโตในอาหารบางชนิด เช่น เชื้อ Vibrio spp. ที่มักพบปนเปื้อนในอาหารทะเลเป็นหลัก และเชื้อ Campylobacter spp. ที่ส่วนมากพบในเนื้อไก่ น้ำนมดิบ และน้ำ แบคทีเรียบางชนิดมีความสำคัญ เนื่องจากเมื่อเกิดกาปนเปื้อนสามารถก่อให้เกิดการเจ็บป่วยในคนได้ รวมทั้งทำให้อายุในการเก็บรักษา รสสัมผัส และรสชาติของอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง

ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ (Drug sensitivity test)

ตรวจวิเคราะห์หาเชื้อปนเปื้อนในอาหารและหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ โดยใช้วิธี Disc diffusion test  ซึ่งเป็นวิธีการทางคุณภาพ (qualitative test)  เพื่อตรวจสอบดูว่า เชื้อมีความไวหรือต้านทานต่อยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ จากการวัดบริเวณใสหรือ บริเวณที่ยับยั้งเชื้อที่เกิดขึ้น (Zone of inhibition) วิธีนี้สามารถตรวจสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ขนาดของบริเวณที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของยาที่ใช้ และปริมาณการเจริญของเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

ตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียในอาหารด้วยเครื่อง Vitek2

เป็นการตรวจจำแนกเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะแบบอัตโนมัติ สามารถจำแนกเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกแบะแกรมลบ ได้ภายในระยะเวลา 2-10 ชั่วโมง สำหรับเชื้อยีสต์สามารถจำแนกได้ภายใน 18 ชั่วโมง รวมทั้งสามารถระบุค่าความเข้มข้นของสารในระดับต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ (Minimum inhibitory concentration, MIC) ของยาปฏิชีวนะสำหรับการทดสอบหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ

ตรวจสารเคมีเจือปนในอาหาร (Chemical residue test)

ตรวจวิเคราะห์สารเคมี วัตถุเจือปนอาหาร ด้วยชุดทดสอบที่มีความจำเพาะ ในการหาการปนเปื้อนของฟอร์มาลีน สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิก สารบอแรกซ์ สารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดและประกอบอาหาร สารเร่งเนื้อแดง รวมถึงอะฟลาทอกซินจากเชื้อรา

ตรวจยาปฏิชีวนะตกค้างในอาหาร (Drug residue in food test)

ตรวจวิเคราะห์หายาปฏิชีวนะปนเปื้อนในตัวอย่างอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ น้ำนม เพาะแยกเชื้อและหาความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียในอาหาร รวมทั้งบริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณยาปฏิชีวนะ tetracycline

ตรวจเอกลักษณ์เนื้อสัตว์ (Meat species test)

ตรวจการปลอมปนเนื้อสุกรในผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้าและตามข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา

ตรวจคุณภาพน้ำผึ้ง (Honey quality test)

วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว น้ำตาลโมเลกุลคู่ ความชื้น ความหวาน (Brix) ตรวจหา Diastase enzyme activity ในน้ำผึ้ง สารไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรัลที่เป็นองค์ประกอบในน้ำผึ้ง (Hydroxymethylfurfural, HMF) สารที่ไม่ละลายน้ำ เถ้า  ปริมาณกรดทั้งหมด เชื้อยีสต์และรา รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในน้ำผึ้ง

fee

อัตราค่าบริการ

ตรวจคุณภาพอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม

  • Total bacteria count (250)

  • Total bacteria count (Petrifilm) (350)

  • Total coliform count (350)

  • Coliform (Petrifilm) (500)

  • Escherichia (E.) coli (Petrifilm) (500)

  • Coliform & E. coli count (Petrifilm) (600)

  • Total yeast & mold count (250)

  • Total yeast & mold count (Petrifilm) (400)

  • Coliform bacteria (MPN/100 ml) (350)

  • E. coli (MPN/100 ml) (350)

  • Coliform bacteria & E. coli (MPN/100 ml) (400)

  • Salmonella spp. (350)

  • Salmonella spp. (Petrifilm) (600)

  • Salmonella count (MPN) (600)

  • Salmonella (serovar) (500)

  • Coagulase-positive staphylococci count (1,200)

  • Staphylococcus aureus (1,200)

  • Staphylococcus aureus (Petrifilm) (600)

  • Staphylococcus aureus count (600)

  • Staphylococcus aureus count (Petrifilm) (1,000)

  • Vibrio parahaemolyticus & Vibrio cholerae (800)

  • Clostridium perfringens (800)

  • Clostridium botulinum (800)

  • Total streptococci & fecal streptococci (600)

  • Campylobacter jejuni & Campylobacter coli (1,500)**

  • Listeria monocytogenes (700)**
    ** ติดต่อล่วงหน้า

ตรวจวิเคราะห์หาความไวของเชื้อแบคทีเรียในอาหารต่อยาปฏิชีวนะ

  • ตรวจหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ (250)

  • เพาะแยกเชื้อพร้อมหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ (500)  

ตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียในอาหารด้วยเครื่อง Vitek2

  • เพาะแยกเชื้อแบคทีเรียชนิดใช้ออกซิเจนทั่วไป (600)    

  • ตรวจหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ (600)

  • เพาะแยกเชื้อพร้อมหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ (950)  

ตรวจสารเคมีเจือปนในอาหาร

  • ฟอร์มาลีน (100)

  • สารฟอกขาว (100)

  • กรดซาลิซิลิก (100)

  • บอแรกซ์ (100)

  • โพลาร์ (100)

  • สารเร่งเนื้อแดง (100)

  • Aflatoxin (700)    

ตรวจเอกลักษณ์เนื้อสัตว์

  • ตรวจการปลอมปนเนื้อสุกร (1,500)

ตรวจยาปฏิชีวนะตกค้างในอาหาร

  • ตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ (300)

  • ตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนม (300)

  • หาความไวต่อยาปฏิชีวนะ (500)

  • ตรวจปริมาณยาปฏิชีวนะ tetracycline (2,000)    

ตรวจคุณภาพน้ำผึ้ง

  • Hydroxymethylfurfural (HMF) (1,300)

  • Diastase enzyme activity (800)

  • ความชื้น (%) (100)

  • ความหวาน Brix (%) (100)

  • วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ฟรุกโตส (Fructose) (1,000)

  • วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลูโคส (Glucose) (1,000)

  • วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลคู่ ซูโครส (Sucrose) (1,000)

  • วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลคู่ แลกโตส (Lactose) (1,000)

  • วิเคราะห์น้ำตาลโมเลกุลคู่ มอลโทส (Maltose) (1,000)

  • วิเคราะห์น้ำตาล Sugar set (Fructose, Glucose, Sucrose, Lactose, Maltose) (1,500)

  • สารที่ไม่ละลายน้ำ (400)

  • เถ้า (Ash) (300)

  • ปริมาณกรดทั้งหมด (500)

  • Salmonella spp. (400)

  • Salmonella spp. (Petrifilm) (600)

  • Staphylococcus aureus (400)

  • Staphylococcus aureus (Petrifilm) (600)

  • Total yeast & mold count (250)

  • Total yeast & mold count (Petrifilm) (400)

step
ขั้นตอนการส่งตรวจตัวอย่าง (1).png

ติดต่อสอบถาม / ส่งตรวจตัวอย่าง

ติดต่อสอบถามข้อมูลการส่งตรวจตัวอย่าง ปรึกษาปัญหาด้านอาหารปลอดภัย

Line Official Account: @385sxqza

โทร: 053-948073

Email: vphcap@cmu.ac.th

ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบทางห้องปฏิบัติการ

สถานที่ส่งตัวอย่าง: ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตรงข้ามสนามขี่ม้า) ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100

contact
bottom of page